สมาคมอนุรักษ์พี่น้องไตยใหญ่ ณ แม่ฮ่องสอน ยินดีต้อนรับทุกท่าน ที่เข้ามาชมกิจกรรมของเรา....ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แนวคิดน่ารู้ ตอน หลุมพรางของความฉลาด

คำพูดโดนใจวันนี้
อย่ามั่นใจ...ว่าตัวเองฉลาดมาก.....อย่าวางมาด....ว่าเก่งกาจมาจากไหน.....อย่าคิดว่า....คนอื่นเค้าไม่รู้เค้าอาจแกล้งโง่เพื่อดู---ควาย---......โดยส่วนมาก....คนตอแหลจะวอดวายด้วยสันดาน....ตัวมันเอง


หลุมพรางของความฉลาด คัดลอกจากคิดสโมสร (Thinking Society) โดยอาจารย์รัศมี ธันยธร

ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ผู้คิดค้นเทคนิคการคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking) และเทคนิคการคิดอย่างเป็นระบบ Six Thinking Hats กล่าวถึง “หลุมพรางของความฉลาด” (Intelligence Trap) ไว้ในหนังสือหลายเล่มอย่างน่าคิดและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ดร.เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน จบปริญญาตรีแพทยศาสตร์เมื่ออายุยังไม่ถึง 20 ปี ตระกูลของท่านสืบทอดการเป็นแพทย์มาเจ็ดรุ่น ท่านได้ทุนเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย Oxford และ Cambridge ได้ปริญญาโท 2 ปริญญาและปริญญาเอกอีก 2 ปริญญา ด้านการแพทย์และจิตวิทยา ศึกษา วิจัย ค้นคว้าด้านความคิดสร้างสรรค์ จนได้ชื่อว่าเป็นปรมาจารย์ด้านความคิดสร้างสรรค์ของโลก เดินทางสอนผู้บริการในประเทศต่าง ๆ มากว่า 30 ปี เดอ โปโน ได้พบคนฉลาด ๆ มากมาย แต่บางคนตกหลุมพรางของความฉลาด ท่านจึงพูดถึง “หลุมพรางของความฉลาด” เพื่อให้ผู้คนรู้จักเพื่อจะได้รู้ว่ามีหลุมพรางของความฉลาดอยู่ทั่วไป ทุกคนควรระวัง อย่าให้ตนเผลอตกลงไปในหลุมพรางนั้น เพราะจะเกิดผลร้ายต่อตนเองหลาย ๆ อย่าง คนที่เก่งมาก ฉลาดมาก เพราะเรียนเก่งหรือทำงานเก่ง ถ้าเผลอตกหลุมพรางของความฉลาด เขาจะกลายเป็นคนชอบโต้แย้ง (Defensive) ความที่มีเหตุมีผลแน่นมาก เวลาแย้งใครหรือโต้เถียงกับใครเขามักยกเอาเหตุและผลมาแย้งให้คนอื่นที่ คิด แตกต่างจากเขาจนมุมได้ไม่ยาก พอโต้แย้ง ถกเถียงกับใครแล้วได้ชัยชนะมากขึ้น ๆ เขาจะเริ่มติดใจในความรู้สึกแห่งความสำเร็จนั้น (Sense of Achievement) ทำให้เขาค่อย ๆ รู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าใคร (Superior) แรก ๆ เขาอาจรู้สึกว่าเหนือคนรุ่นเดียวกัน ระดับเดียวกัน นาน ๆ ไปจะรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าผู้บังคับบัญชาเหนือกว่าผู้บริหารทุกระดับ เหนือกว่าผู้บริหารองค์กร เหนือกว่าผู้บริหารประเทศ และเหนือกว่าทุกคน คนตกหลุมพรางของความฉลาดจึงชอบวิจารณ์คนอื่นอย่างภาคภูมิและมั่นใจด้วยรู้สึกว่าผู้อื่นคิดไม่ได้อย่างเขา (ซึ่งเขาคิดได้เหนือกว่า) เมื่อรู้สึกเหนือกว่า อาการจึงค่อย ๆ แสดงออกมา คือ หยิ่ง ยโส จองหอง อวดดี ทะนงตน (ซึ่งรวมเรียกว่า Arrogant) อาการนี้จะแสดงออกได้ทั้งสายตา ท่าที การพูดและการปฏิบัติตนต่อคนอื่น ซึ่งอาการเหล่านี้ผู้คนรอบข้างสัมผัสได้ คนที่เคยน่ารักจึงสามารถกลายเป็นคนที่ไม่ค่อยน่ารัก หรืออาจถึงกับน่าเบื่อได้ ถ้าตกหลุมพรางของความฉลาด นอกจากนั้นเขาจะเป็นคนที่ลังเลสงสัยปิดใจ (Skeptical) รับสิ่งใหม่ ๆ ความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้ยากมาก ความรู้สึก “เหนือกว่า” มักพาให้คิดว่า ถ้าอะไรดีจริง คนอย่างตนเองคงรู้หมดแล้ว ถ้าจะมีอะไรที่ตนไม่รู้ สิ่งนั้นก็คงยังไม่ดีพอที่คนอย่างตนต้องเสียเวลาไปรู้ไปฟัง ความรู้สึกว่า “ข้าแน่” จะมาบดบังตาและใจของคนที่ตกหลุมพรางของความฉลาดทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับ ให้เขาเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ ไม่ได้ ฟังความคิดใหม่ ๆ และความรู้ใหม่ ๆ ไม่ได้ เขามักฟังอะไรแล้วเข้าใจได้ยากกว่าคนอื่น เรียนอะไรได้ยุ่งยากมากกว่าคนอื่น เพราะไม่เปิดใจรับ โดยเผลอยึดเอาตนเองเป็นมาตรฐาน แล้วโต้แย้งวิธีของผู้อื่น และเห็นว่าผู้อื่นน่าจะทำอย่างที่ตนเองคิด ทั้งที่ตนเองก็ทำไม่เป็น และยังไม่รู้จริง เขาไม่เปิดใจพร้อมที่จะรับ แต่กลับเปิดใจพร้อมที่จะแย้งและวิจารณ์ โดยใช้ความเห็นของตนเป็นหลัก ข้อมูลใหม่ ๆ ความรู้ใหม่ ๆ จึงไม่สามารถเข้าไปสะสมในกล่องสมองของเขาเท่าใดนัก ผลก็คือเขาจะมีวิจารณญาณที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ตนเองไม่รู้ตัว นอกจากนั้น ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่มีอยู่มากมาย ของคนที่ตกหลุมพรางของความฉลาดจะไม่ค่อยได้ถูกนำมาใช้สร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์และสิ่งดีงามอย่างที่น่าจะเป็น เพราะรสนิยมของเขาเป็นแบบชอบวิจารณ์โต้แย้ง และหาจุดบกพร่องของคนอื่น (ซึ่งไม่ถูกใจตนเอง) มากกว่าที่จะคิดสร้างสรรค์สิ่งดีงามและลงมือสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้นเป็นชิ้นเป็นอัน ถ้าทุกคนรู้เท่าทันหลุมพรางของความฉลาด และคุมตัวเองไม่ให้เผลอตกลงไปในหลุมพรางนั้นและถ้าเผลอตกลงไปบ้างก็รีบดีดตัวขึ้นมา และมุ่งนำความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของตนมาสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นแก่องค์กร ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ ชีวิตของคนไทยทุกคนคงสดใสรุ่งเรือง สงบเย็น ยิ่งขึ้น ๆ ตลอดกาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น